Bio TH

[siteorigin_widget class=”RevSliderWidget”][/siteorigin_widget]
ประวัติ 
(EN/ TH)

ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ นักประพันธ์เพลงและศิลปินชาวไทย งานของปิยวัฒน์ผสมผสานเสียงจากสิ่งรอบตัวทั้งดนตรีและสิ่งที่ไม่ใช่ดนตรี ทัศนศิลป์ และเทคโนโลยี ปิยวัฒน์ ได้รับรางวัลการประพันธ์เพลงในระดับนานาชาติ  อาทิเช่น Fromm Foundation Commission, Harvard University (USA), Hellerau Europäisches Zentrum der Künste Commission (Dresden), International Coproduction Fund (IKF)—Goethe Institut (Berlin/Bangkok), ISCM/Asian Composer League Prize (New Zealand), Südwestrundfunk (SWR) Experimental Studio (Freiburg), MATA Festival (New York), Mizzou Composer Festival (Missouri), ASCAP Morton Gould Young Composer Award 2018-20-21 (USA), Fritz Gerber Award, Lucerne Festival Commission (Switzerland), American Composer Orchestra-Aguascalientes Symphony Orchestra, Earshot Reading (USA), British Council Grants: Connections Through Culture (United Kingdom), Matan Givol Composers Competition Prize (Israel), Call for Scores Northwestern University Conference (Chicago), Call for Scores Winner Bowling Green New Music Festival (Ohio), Pro Helvetia Swiss Art Council (Switzerland), Japan Foundation Director Grants (Japan), The Charles Stewart Richardson Award (London), Unheard-of//Ensemble Multimedia Prize (New York), The Otto R. Stahl Memorial Award (USA), Sergei Slonimsky Composition Award (Russia), Léon Goossens Prize (UK), Young Thai Artists Award (TH) นอกจากรางวัลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ปี 2560 ปิยวัฒน์ได้รับเลือกให้เป็น ศิลปิน/คีตกวีองค์กรศิลปะแห่งชาติ KulturKontakt Austria, Austrian Federal Chancellery และ Music Austria ต่อมาในปี 2562 ปิยวัฒน์ได้รับการสัมภาษณ์ในโครงการซีรีย์  “Young and Gifted” จากสำนักข่าว CNN News World และในปี 2564 ปิยวัฒน์ได้รับการว่างจ้างในการประพันธ์เพลงให้กับเทศกาลดนตรีสมัยใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในเยอรมัน Donaueschinger Musiktage เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี และในปีล่าสุดนี้ ปิยวัฒน์ได้รับรางวัล Fromm Foundation Commission จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

ผลงานเพลงของปิยวัฒน์ได้รับความสนใจและถูกนำออกแสดงในหลากหลายเทศกาลดนตรีทั่วโลก มากกว่า 20 ประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ Darmstadt New Music Festival (Germany), Lucerne Festival (Switzerland), MUSIIKIN AIKA – Time of Music (Finland), European Creative Academy, Composition Residency (France), Saint Petersburg New Music Festival (Russia), Kulturkontakt Residency (Vienna), Gaudeamus Musikweek (Netherlands), China – ASEAN Music Week (China), London National Portrait (UK), Mozart of Tomorrow (UK), Musica y Arte: Correspondencias Sonoras (Spain), Asian Composer League (Japan) and Dian Red Kechil Young Composers Residency (Singapore) เป็นต้น ปิยวัฒน์ร่วมงานกับวงออเคสตร้าและวงดนตรีสมัยใหม่ อาทิ Tacet(i), Arditti Quartet, Alarm Will Sound, Berlin Philharmonic Horn Section and Horn Pure, American Composer Orchestra, Aguascalientes Symphony Orchestra, International Contemporary Ensemble, Yarn Wire, Wet Ink, Lucerne Alumni Ensemble, Orkest Ereprijs, Oerknal!, Platypus, Reconsil, Quasars, Surplus, Mozaik, Switch Ensemble, ASEAN Contemporary Ensemble, Omnibus, University Cincinnati Chamber Players, University of Austin Texas Chamber Ensemble, Vienna Improvisor Orchestra, Royal Northern Sinfonia, Stockport Youth Orchestra, RCM Philharmonic Orchestra, Thailand Philharmonic Orchestra, Elbland Philharmonie Sachsen เป็นต้น

ปิยวัฒน์จบการศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลงระดับปริญญาตรี จาก มหาวิทยาลัยมหิดล (ทุนเรียนดี) ปริญญาโทจาก Royal College of Music ลอนดอน (ทุน Charles Stewart Richardson Award) และปริญญาเอก สาขาการประพันธ์เพลงและประติมากรรมทางเสียง มหาวิทยาลัย คอร์เนล นิวยอร์ก (ทุน Sage Fellowship และ Telluride Fellowship) ปัจจุบันปิยวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ด้านการประพันธ์ดนตรี ณ มหาวิทยาลัย คอร์เนล www.piyawatmusic.com

นอกเหนือจากการประพันธ์ด้านดนตรีแล้ว ปี 2559 ปิยวัฒน์ ได้ก่อตั้ง Thailand Music and Art Organisation (TMAO) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และแนะนำ ดนตรีและศิลปะร่วมสมัย ให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และรวมกลุ่มนักดนตรีก่อตั้งวง Tacet(i) Ensemble ในปี 2556 ปิยวัฒน์ ทำหนัาที่เป็นผู้อำนวยการและวาทยกร ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา TMAO และ Tacet(i) สร้างสรรค์และส่งเสริมดนตรีและศิลปะใหม่ๆ ที่หลากหลายโดยร่วมมือกับศิลปินจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา กิจกรรมที่ผ่าน ได้แก่ TMAO Music Day: Saxophone and Composition Workshop (ประเทศไทย) คอนเสิร์ตสาธารณะในลอนดอน Diffused Portrait  (สหราชอาณาจักร) โครงการความร่วมมือกับนักแต่งเพลงชาวดัตช์ ในกรุงเฮกและอัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) Japan Foundation Grants: the Next Classical (ญี่ปุ่น-ไทย), New Orient Call for Scores (ไทย), China-ASEAN Festival (จีน) British Council Grant: Connecting through Cultures (สหราชอาณาจักร) Cornell Biennial of Arts (สหรัฐอเมริกา), Pro Helvetia Grants (สวิตเซอร์แลนด์) และอีกมากมาย และตั้งแต่ปี 2562 องค์กรได้ริเริ่มงาน IntAct Festival ปีละครั้ง (เคยถูกเรียกว่า Thailand New Music and Art Symposium) ซึ่งเน้นความหลากหลายทางเชื้อชาติ สังคม และวัฒนธรรม โดยคำจำกัดความของ “ศิลปะใหม่” อาจสื่อให้ผู้คนเข้าใจถึงบริบทใหม่ของศิลปะ ภาษา วัตถุประสงค์ และจิตวิญญาณ โดยไม่แบ่งแยกตัวตนของวินัย ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)